Labels

กิ่งแก้ว (1) โกดัง (3) คลองเตย (1) คลองสามวา (3) คอนโด (18) คันนายาว (1) จรัญสนิทวงศ์13 (2) ชลบุรี (1) เช่า (1) ดินแดง (1) ตลิ่งชัน (1) ต่างจังหวัด (3) ติวานนท์ (1) ตึกแถว อาคารพาณิชย์ (9) ทวีวัฒนา (2) ทองหล่อ (1) ทาวน์เฮ้าส์ (18) ทาวน์โฮม (6) ที่ดิน (6) ทุ่งครุ (2) เทพารักษ์ (1) นวมินทร์ (3) บรมราชชนนี (5) บางกอกน้อย (1) บางกะปิ (8) บางขุนเทียน (2) บางเขน (3) บางซื่อ (4) บางนา (2) บางบอน (1) บางแวก (1) บ้านเดี่ยว (29) บ้านแฝด (1) ปทุมธานี (7) ประชาอุทิศ (2) ประเวศ (3) ปากเกร็ด (1) พระโขนง (1) พระรามสอง (3) พุทธมณฑล (2) เพชรเกษม (1) แพรกษา (1) มีนบุรี (3) รังสิต (4) รัชดา (2) ราชเทวี (1) ราชบุรี (1) รามคำแหง (8) รามคำแหง2 (1) รามอินทรา (4) โรงงาน (2) ลาดกระบัง (1) ลาดพร้าว (8) ลำลูกกา (2) วังทองหลาง (3) วัชรพล (3) สมุทรปราการ (3) สวนกล้วย (1) สวนหลวง (1) สะพานสูง (4) สะพานใหม่ (1) สายไหม (1) สุขุมวิท (7) แสมดำ (2) หทัยราษฎร์ (4) ห้วยขวาง (2) หอพัก (2) อ่อนนุช (8) ออฟฟิต สำนักงาน (1) เอกสาร (2)
6 May 2013

ซื้้อบ้านมือสองชั้นเดียว – บ้านชั้นเดียวสวย บ้านประหยัดพลังงาน

         บ้านชั้นเดียวสวย แบบบ้านประหยัดพลังงาน แบบบ้านชั้นเดียว แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านอื่นๆ  บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และแบบโรงงาน หรือออฟฟิศ ตึกแถว อพาร์ทเมนท์ โรงแรม มีหลายแบบมากมาย ให้คุณได้ตรงความต้องการ เรามี เทคนิค การเลือก ซื้อบ้านมือสองชั้นเดียว แบบบ้านประหยัดพลังงาน  มาฝาก

 12 ข้อสำคัญ ในการเลือกซื้อบ้านมือสองชั้นเดียว บ้านประหยัดพลังงาน

         1. อย่าใส่ (ลานคอนกรีต) ในบ้าน





ภายในบริเวณบ้านไม่ควรมีลานคอนกรีตในทิศทางรับแสงแดดจัด เช่น ทิศใต้และทิศตะวันตก เนื่องจากในเวลากลางวันคอนกรีตจะกลายเป็นมวลสารสะสมความร้อน (Thermal mass)   มีการสะสมความร้อนไว้ในเวลากลางวันในปริมาณมาก ด้วยคุณสมบัติการนำความร้อนของวัสดุและจะถ่ายเทความร้อนกลับสู่บ้านของท่านในเวลากลางคืน จึงทำให้สภาพแวดล้อมของบ้านและตัวบ้านมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย การจัดวางตำแหน่งพื้นคอนกรีตเพื่อเป็นที่จอดรถยนต์หรือชานหรือระเบียงที่ดีควรเลือกวางในทิศที่ไม่ถูกแสงแดดมาก เช่น ทิศเหนือ ทิศตะวันออกและควรมีร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดปริมาณแสงแดด

       2. รั้วบ้าน…ต้องโล่ง…โปร่ง…สบาย

       รั้วบ้านมือสองชั้นเดียว สามารถออกแบบสร้างจากวัสดุได้หลายชนิดตั้งแต่รั้วไม้ที่เข้ากับธรรมชาติมาก ที่สุด ให้ความเป็นมิตรและสบายตา ใช้ปกป้องตัวบ้านจากทัศนวิสัยที่ไม่งามได้ และยังคงป้องกันตัวบ้านจากฝุ่น ถ้าปลูกต้นไม้เลื้อยพันรั้วไว้ก็ยิ่งจะช่วยลดมลพิษได้มากขึ้น เช่น กรองความร้อนที่แผ่รังสีมาจากผืนถนนคอนกรีตหน้าบ้าน และจากแดดที่ร้อนระอุในเวลากลางวัน ทำให้ลมที่พัดเข้าสู่บ้านเย็นลง

วัสดุ ที่ทำรั้วโปร่งอาจใช้เหล็กดัด อัลลอย หรือทำเป็นรั้วทึบในส่วนล่าง เพื่อความแข็งแรงและการป้องกันเสียง ส่วนตอนบนอาจใช้ไม้หรือลวดตาข่ายพันด้วยไม้เลื้อยที่ชอบ เช่น รสสุคนธ์ มะลิวัลย์ สร้อยฟ้า เป็นต้น ทำให้บ้านดูน่าสนใจไปอีกแบบหนึ่ง

       3. หันบ้านให้ถูกทิศ(ลม-แดด-ฝน) จิตแจ่มใส

การเลือก ซื้อบ้านมือสองชั้นเดียว ในประเทศไทยไม่ควรหลงลืมปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนสู่ตัวบ้าน นั่นคือส่วนใหญ่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทางทิศใต้(แดดอ้อมใต้)เป็นเวลา 8-9 เดือนและด้วยมุมกระทำของดวงอาทิตย์ต่อพื้นโลกมีค่าน้อย (มุมต่ำ) จึงทำให้การป้องกันแสงแดดทำได้ยากเป็นผลให้ทิศทางดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากแสงแดดรุนแรงเกือบตลอดปี การวางตำแหน่งบ้านและการออกแบบ รูปทรงบ้านที่ดีต้องหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดในทิศดังกล่าวนอกจากนี้ลมประจำ(ลมมรสุม)ที่พัดผ่านประเทศไทยมีทิศทางชัดเจนจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน และพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาวการวางผังบ้านและทิศทางตำแหน่งช่องหน้าต่างเพื่อระบายความร้อนในบ้าน จึงต้องคำนึงถึงทิศทางกระแสลมเหล่านี้เป็นสำคัญอีกด้วย

       4. มีครัวไทยต้องไม่เชื่อมติดตัวบ้าน

การทำครัวแบบไทย  บ้านมือสองชั้นเดียว   ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมระหว่างห้องครัวกับตัวบ้าน เพื่อบรรเทาปัญหาความร้อนที่เกิดขึ้น

       5 .ประตูหน้าต่างต้องมีทางลมเข้าออก

การระบายความร้อนภายใน บ้านมือสองชั้นเดียว โดยใช้ลมธรรมชาติพัดผ่านหน้าต่าง ภายในห้องต้องมีช่องทางให้ลมเข้าและลมออกได้อย่างน้อย 2 ด้านมิฉะนั้นลมจะไม่สามารถไหลผ่านได้และสิ่งที่ดีที่สุดคือการออกแบบให้ช่องหน้าต่างอยู่ตรงข้ามกันและมีขนาดใหญ่เท่าเทียมกันจะทำให้การระบายความร้อนเกิดขึ้นมากที่สุด นอกจากนี้การวางตำแหน่งช่องหน้าต่างต้องตอบรับทิศทางการเคลื่อนที่ของลมประจำด้วยแต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าลมที่นำเข้าสู่อาคารต้องทำให้เป็นลมเย็นเสียก่อนจึงจะทำให้การลดความร้อนมีประสิทธิผล

การออกแบบให้ลมไหลผ่านตัวบ้านได้ดีมีข้อควรระวังได้แก่

1.ต้องติดตั้งมุ้งลวดเพื่อกรองฝุ่นละอองเกสรที่จะเข้าบ้าน

2.การติดช่องหน้าต่างในตำแหน่งเยื้องกันจะช่วยบังคับให้ลมไหลผ่านห้องต่าง ๆ ตามตำแหน่งที่ต้องการได้

         6. ช่องอากาศที่หลังคาพาคลายร้อน…

หลังคาที่ดีนอกจากจะสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้ ยังต้องมีคุณสมบัติ ในการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อีกด้วย ภายในช่องว่างใต้หลังคา เป็นพื้นที่เก็บกักความร้อนที่แผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ก่อนถ่ายเทเข้าสู่พื้นที่ส่วนต่างๆภายในบ้านดังนั้นการออกแบบให้มีการระบายอากาศ (ร้อน) ภายในหลังคาออกไปสู่ภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องลมบริเวณจั่วหลังคาหรือระแนงชายคาจึงเป็นเรื่องที่ดีต่อการลดความร้อนในบ้าน แต่พึงระวังให้การระบายอากาศร้อนดังกล่าวอยู่เหนือฉนวนภายในฝ้าเพดาน มิฉะนั้นความร้อน จะสามารถถ่ายเทลงสู่ตัวบ้านได้อยู่ดี

ข้อควรระวัง คือ

1. ต้องมีการติดตั้งตาข่ายป้องกันนก แมลง เข้าไปทำรังใต้หลังคาด้วย

2. ต้องมีการป้องกันฝนเข้าช่องเปิดระบายอากาศด้วย


         7. กันแสงแดดดีต้องมีชายคา



กันสาดหรือชายคาบ้านเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญกับอาคาร บ้านเรือนในเขตร้อนเช่นประเทศไทย เนื่องจากมีคุณสมบัติการ ป้องกันแสงแดด(ความร้อน)ไม่ให้ตกกระทบผนังและส่องผ่านเข้าสู่ช่องแสงและหน้าต่างได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ตำแหน่ง และทิศทางการติดตั้งกันสาดที่มีความจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านที่มีแสงแดดรุนแรง ได้แก่ ทิศใต้และทิศตะวันตก นอกจากนี้ ข้อดีอีกประการของการติดตั้งชายคาและกันสาด คือ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการป้องกันฝนเข้าสู่ ตัวบ้านอีกด้วย

         8.ทาสีผนังให้ใช้สีอ่อน ไม่ร้อนดี แต่ถ้าเปลี่ยนสี(เข้ม)ต้องมีฉนวน

สีผนังมีผลต่อการสะท้อนแสงแดดและความร้อนเข้าสู่อาคารมากน้อยต่างกัน สีอ่อนจะมีคุณสมบัติสะท้อนแสงแดด และการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในบ้านดีกว่า สีเข้มตามลำดับความเข้มของสี ผนังภายนอกที่สัมผัสแสงแดดจึงควรเลือกใช้สีโทนอ่อน เช่น ขาว ครีม เป็นต้น เพื่อช่วยสะท้อนความร้อน ในทางกลับกันหากต้องการทาสีผนังภายนอกบ้านเป็นสีเข้มก็สามารถ กระทำได้ แต่ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่โดนแสงแดดหรือต้องมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนในบริเวณนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนเป็นการชดเชย นอกจากสีภายนอกอาคารแล้ว การทาสีภายในอาคารด้วยสีอ่อน จะช่วยสะท้อนแสงภายในห้อง เพิ่มความสว่างภายในบ้าน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้โคมไฟมากเกินไป

         9. ห้องติดเครื่องปรับอากาศต้องไม่ไร้บังใบประตูหน้าต่าง

ความชื้นในอากาศที่รั่วซึมเข้าภายในอาคารบ้านเรือน (Air Infiltration) เป็นสาเหตุของภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ และ ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการป้องกันปัญหาด้วยการออกแบบที่กระทำได้ไม่ลำบากคือ การเลือกใช้ประตูและหน้าต่างห้องในบ้านที่มีการบังใบวงกบ เพื่อลดการรั่วซึมของ อากาศร้อนและความชื้นจากภายนอกที่ไหลผ่านรอยต่อวงกบ ประตู หน้าต่าง เข้าสู่ภายใน

กรณีบานหน้าต่างสามารถใช้ซิลิโคนสีใสช่วยปิดช่องอากาศรั่วได้ ส่วนกรณีบานประตูก็สามารถซื้อแผ่นพลาสติกปิดช่องอากาศรั่วมาติดเพิ่มเติม ได้ในภายหลัง โดยควรเลือกชนิดพลาสติกจะทำความสะอาดและกันลมรั่วได้ดีกว่าแบบผ้า

        10. ห้องน้ำดีต้องมีแสงแดด

ผนังห้องน้ำ เป็นพื้นที่ ไม่กี่จุดในบ้านที่ควรจัดวางให้สัมผัสแสงแดดมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ด้วยเหตุผลด้านสุขอนามัยและเพื่อลดความชื้นสะสมภายในตัวบ้าน นอกจากนี้การเลือกวางตำแหน่งห้องน้ำทางด้าน ทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ยังมีข้อดีในการเป็นพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ระหว่างแสงแดดกับพื้นที่ในบ้านได้อีกด้วย    นอกจากจะต้องมีช่องแสงแดดที่มากแล้ว ควรมีช่องลมในปริมาณที่มากพอ เพื่อระบายความชื้นภายในห้องน้ำด้วยซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ติดตาข่ายป้องกันแมลงที่ช่องลมด้วย

        11. รับแสงเหนือเพื่อประหยัดแสงไฟ

ช่องแสงหรือหน้าต่างภายในบ้านควรออกแบบจัดวางให้เอื้อต่อการนำแสงธรรมชาติส่องเข้ามาภายในห้องได้ ทุกๆห้อง ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องอาหาร หรือแม้แต่ห้องน้ำ ห้องเก็บของและบันได เพื่อลด การใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าในบ้าน เนื่องจากแสงธรรมชาติเป็นแสงที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดและไม่เสีย ค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่มากับแสงธรรมชาติ คือความร้อน ดังนั้นทิศทางช่องแสงหรือหน้าต่างในบ้าน ที่ดีที่สุด คือทิศเหนือ เนื่องจากได้รับอิทธิพลความร้อนของแสงแดดน้อยที่สุดในรอบปี (ดวงอาทิตย์อ้อมเหนือเพียง 3 เดือน) และมีลักษณะความสว่างคงที่ (Uniform) ในแต่ละวัน

        12. คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ…ต้องวางให้ถูกที่

การวางตำแหน่งคอมเพรสเซอร์ นอกจากจะพิจารณาเรื่องความ สวยงามแล้วยังมีผลอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง ปรับอากาศและการทำความเย็นภายในห้อง จึงควรเลือกวางตำแหน่ง เครื่องให้อยู่ในจุดที่พัดลมของเครื่องสามารถระบายความร้อน ได้สะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวางทิศทางลม และนอกจากนี้ตัวเครื่องต้อง ไม่ได้รับความร้อนจากแสงแดดมากนักในช่วงเวลากลางวัน เช่น ทิศเหนือหรือตะวันออก เพราะการสะสมความร้อนที่ตัวเครื่องใน ปริมาณมาก จะทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้น



ท่านใดที่กำลัง ดู ๆ หา ซื้อบ้านมือสองชั้นเดียว กันอยู่  บทความนี้ คงจำเป็น สำหรับ การหาบ้านมือสอง ดี ๆซักหลัง นะคะ


ที่มา : prachinpost

.

Popular Posts

เรื่องโปรด

[app แนะนำ] มารู้จัก appมือถือแจ่มๆ แอนดรอยด์ ios แจ่มว้าว

Find Us On Facebook